หน้าเว็บ

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้ศึกษาค้นคว้าได้สร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพ จากการทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มเล็กและการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ แล้วจึงนำไปทดลองภาคสนาม ผลการศึกษาค้นคว้า สรุปได้ 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 การหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ตอนที่ 2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการอ่านหนังสือเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ตอนที่ 3 การศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
แทน คะแนนเฉลี่ย
แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
แทน จำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง
แทน ความแตกต่างของคะแนนก่อนและหลังอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม
แทน ผลรวมของผลต่างของคะแนนก่อนและหลังการอ่านหนังสือ
อ่านเพิ่มเติม
2 แทน ผลรวมของกำลังสองของผลต่างของคะแนนก่อนและหลังการอ่าน
หนังสือเพิ่มเติม
แทน ค่าวิกฤติใน t-distribution
แทน ร้อยละของคะแนนเฉลี่ย จากการทำแบบฝึกหัดท้ายหน่วยของ
หนังสืออ่านเพิ่มเติมของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด


E2 แทน ร้อยละของจำนวนนักเรียนกลุ่มตัวอย่างผ่านการทำแบบฝึกหัด
ท้ายหน่วยแต่ละหน่วยของหนังสืออ่านเพิ่มเติมถูกต้องร้อยละ 80
ของคะแนนเต็ม

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตอนที่ 1 การหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปรากฏผลดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมัน
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประสิทธิภาพ
E1 / E2
หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน 87 / 96.66
หน่วยที่ 2 ขั้นตอนการปลูกปาล์มน้ำมัน 88 / 93.33
หน่วยที่ 3 การดูแลรักษาปาล์มน้ำมัน 89 / 96.66
หน่วยที่ 4 การเก็บเกี่ยวและการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวปาล์ม 91.33 / 100
น้ำมัน
หน่วยที่ 5 การบันทึกข้อมูล การตลาด ต้นทุน และระบบบัญชีในการ 89.66 / 96.66
ปลูกปาล์มน้ำมัน
เฉลี่ย 88.99 / 96.66

จากตารางที่ 1 ประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมัน พบว่า กลุ่มตัวอย่างทำแบบฝึกหัดท้ายหน่วยได้คะแนนเฉลี่ย (E1 ) ในหน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปลูกปาล์มน้ำมัน ร้อยละ 87 หน่วยที่ 2 ขั้นตอนการปลูกปาล์มน้ำมัน ร้อยละ 88 หน่วยที่ 3 การดูแลรักษาปาล์มน้ำมัน ร้อยละ 89 หน่วยที่ 4 การเก็บเกี่ยวและการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน ร้อยละ 91.33 หน่วยที่ 5 การบันทึกข้อมูล การตลาด ต้นทุน และระบบบัญชีในการปลูกปาล์มน้ำมัน ร้อยละ 89.66 คะแนนเฉลี่ยรวม 5 หน่วย ร้อยละ 88.99 และจำนวนนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ทำแบบฝึกหัดท้ายหน่วย แต่ละหน่วยถูกต้องอย่างน้อย ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม (E2) หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปลูกปาล์มน้ำมัน ร้อยละ 96.66 ของ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด หน่วยที่ 2 ขั้นตอนการปลูกปาล์มน้ำมัน ร้อยละ 93.33 ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด หน่วยที่ 3 การดูแลรักษาปาล์มน้ำมัน ร้อยละ 96.66 ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด หน่วยที่ 4 การเก็บเกี่ยวและการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน ร้อยละ 100 ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด หน่วยที่ 5 การบันทึกข้อมูล การตลาด ต้นทุน และระบบบัญชีในการปลูกปาล์มน้ำมัน ร้อยละ 96.66 ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด โดยมีจำนวนนักเรียนกลุ่มตัวอย่างผ่านเกณฑ์ (80 เปอร์เซ็นต์ของคะแนนเต็ม) เฉลี่ยรวมทั้ง 5 หน่วย ร้อยละ 96.66 แสดงว่าหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

ตอนที่ 2 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน และหลังการอ่านหนังสือเพิ่มเติม การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน และหลังการอ่านหนังสือเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปรากฏผลดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม
เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของกลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่าง N
2
t
กลุ่มทดลอง 30 167 1347 8.037**

t .01 (df = 29) = 2.736

** มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0 .01

จากตารางที่ 2 แสดงให้เห็นว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการอ่านหนังสืออ่าน เพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าก่อนการอ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


ตอนที่ 3 การศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม การศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลการประเมินของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปรากฏผลดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3 ผลการประเมินเจตคติของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูก
ปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ข้อความ

ระดับเจตคติ
ภาพประกอบ
1. ลักษณะของภาพส่วนใหญ่สวยงาม ชัดเจน น่าสนใจ 4.50 0.57 มีเจตคติที่ดี
2. ภาพแต่ละกรอบมีความเหมาะสมกับหน้ากระดาษ 4.56 0.50 มีเจตคติที่ดียิ่ง
3. จำนวนภาพมีเพียงพอที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ 4.60 0.62 มีเจตคติที่ดียิ่ง
4. ภาพแสดงลักษณะตรงตามเนื้อหามีความสวยงามเหมาะสมกับระดับวัยของเด็ก
4.63
0.49
มีเจตคติที่ดียิ่ง
5. ภาพมีความสัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง และส่งเสริมให้เข้าใจเนื้อเรื่องได้ดี
4.70
0.46
มีเจตคติที่ดียิ่ง
ลักษณะของตัวอักษร
1. ตัวอักษรมีความสวยงาม ชัดเจน อ่านง่าย 4.66 0.47 มีเจตคติที่ดียิ่ง
2. ตัวอักษรมีขนาดเหมาะสมกับวัยของเด็ก 4.70 0.46 มีเจตคติที่ดียิ่ง
3. การจัดวางตัวอักษรเหมาะสมกับหน้ากระดาษ 4.63 0.49 มีเจตคติที่ดียิ่ง
เนื้อเรื่อง
1. เนื้อเรื่องมีความสอดคล้องกับการนำเสนอเนื้อหา
เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมัน
4.66
0.47
มีเจตคติที่ดียิ่ง
2. ความยาวของเรื่องเหมาะสมกับระดับชั้นและความสนใจของเด็ก
4.56
0.50
มีเจตคติที่ดียิ่ง
3. การนำเสนอเนื้อเรื่องมีความต่อเนื่อง 4.63 0.49 มีเจตคติที่ดียิ่ง
4. การดำเนินเรื่องง่ายไม่ซับซ้อน ทำให้เข้าใจเนื้อเรื่องได้ดี 4.56 0.50 มีเจตคติที่ดียิ่ง

ตารางที่ 3 ผลการประเมินเจตคติของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูก
ปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ต่อ)

ข้อความ

ระดับเจตคติ
การใช้ภาษา
1. ภาษาที่ใช้มีความถูกต้อง ชัดเจน เข้าใจง่ายเหมาะสมกับระดับชั้นและวัยของเด็ก
4.63
0.49
มีเจตคติที่ดียิ่ง
2. เนื้อหาใช้ภาษาได้อย่างเหมาะสม 4.60 0.62 มีเจตคติที่ดียิ่ง
3. การเว้นวรรคตอนและการเขียนตัวสะกดการันต์ถูกต้องเหมาะสม
4.53
0.77
มีเจตคติที่ดี
รวม 4.61 0.52 มีเจตคติที่ดียิ่ง

จากตารางที่ 3 เจตคติของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวม พบว่า นักเรียนมีเจตคติที่ดียิ่ง มีค่าคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.61 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) เท่ากับ 0.52

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น