หน้าเว็บ

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บทที่ 5
สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

การศึกษาค้นคว้าการสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้ศึกษาค้นคว้าขอนำเสนอสรุปผลการศึกษาค้นคว้า อภิปรายผล และข้อเสนอแนะสามารถสรุปผลการศึกษาค้นคว้าได้ ดังนี้

วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใช้อ่านเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมัน ในการเรียนรายวิชา รหัส ง30215 การปลูกปาล์มน้ำมัน ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3
3. เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า
1. หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังจากการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าก่อนการอ่าน
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีเจตคติที่ดีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3



ประโยชน์ของการศึกษาค้นคว้า
1. เป็นการเพิ่มแหล่งเรียนรู้รหัสวิชา ง30215 การปลูกปาล์มน้ำมันชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 และผู้ที่สนใจทั่วไป
2. ใช้อ่านประกอบในรหัสวิชา ง30215 การปลูกปาล์มน้ำมันชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3. เป็นแนวทางในการสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมใช้ประกอบการเรียนในการเรียน การสอนในเรื่องอื่น ๆ หรือรายวิชาอื่น

วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนสิชลประชาสรรค์ ตำบลทุ่งใส อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 253 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนสิชลประชาสรรค์ ตำบลทุ่งใส อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นรายบุคคลด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling)

2. เครื่องมือใช้ในการศึกษาค้นคว้า
2.1 หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 5 หน่วย คือ
2.1.1 หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน
2.1.2 หน่วยที่ 2 ขั้นตอนการปลูกปาล์มน้ำมัน
2.1.3 หน่วยที่ 3 การดูแลรักษาปาล์มน้ำมัน
2.1.4 หน่วยที่ 4 การเก็บเกี่ยวและการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวปาล์ม
น้ำมัน
2.1.5 หน่วยที่ 5 การบันทึกข้อมูล การตลาด ต้นทุนและระบบบัญชีในการปลูกปาล์มน้ำมัน
2.2 แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2.3 แบบวัดเจตคติต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2.4 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

3. การดำเนินการทดลอง
3.1 สร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นำไปปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา เป็นฉบับสมบูรณ์ก่อนทดลองใช้
3.2 สร้าง และหาคุณภาพแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 ข้อ ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์ (IOC) 0.5 ขึ้นไป ค่าความยากง่าย 0.2-0.8 ค่าความเชื่อมั่น 0.85
3.3 นำแบบทดสอบวัดเจตคติต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติมของนุชนารถ ยิ้มจันทร์ (2546, หน้า 78-80) ที่ปรับแล้วมาหาค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบัค ได้ความเชื่อมั่น 0.71
3.4 การหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลหลังการทดลอง (The single group Post-test-only-design หรือ One short case study) (ประวิต เอราวรรณ์, 2545, หน้า 54)
การดำเนินการทดลอง
3.4.1 หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นครั้งนี้ประกอบด้วย 5 หน่วย คือ
1) หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน
2) หน่วยที่ 2 ขั้นตอนการปลูกปาล์มน้ำมัน
3) หน่วยที่ 3 การดูแลรักษาปาล์มน้ำมัน
4) หน่วยที่ 4 การเก็บเกี่ยวและการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน
5) หน่วยที่ 5 การบันทึกข้อมูล การตลาด ต้นทุนและระบบบัญชีในการปลูกปาล์มน้ำมัน ในการหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
3.4.2 ให้กลุ่มตัวอย่างอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมัน สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทีละหน่วย เมื่อจบแต่ละหน่วยให้ทำแบบฝึกหัดท้ายหน่วย จนครบทั้ง 5 หน่วย ภายในเวลา 30 วัน
3.4.3 ตรวจแบบฝึกหัดท้ายหน่วยแต่ละหน่วยจนครบ 5 หน่วย
3.4.4 นำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3.5 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใช้การทดลองกลุ่มเดียว มีการวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หนึ่งครั้งและหลังการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หนึ่งครั้ง (The Single Group Pre-test Post-test Design) (ประวิต เอราวรรณ์, 2545, หน้า 55)
การดำเนินการทดลอง
3.5.1 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม (Pre-test) ตรวจผลการสอบเก็บคะแนนของแต่ละคนไว้
3.5.2 กลุ่มตัวอย่างอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยชี้แจงจุดประสงค์พร้อมวิธีการอ่านให้ทราบและให้กลุ่มตัวอย่างนำหนังสือไปอ่านเป็นเวลา 30 วัน
3.5.3 เมื่อกลุ่มตัวอย่างอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมัน สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ครบตามเวลาที่กำหนดจึงวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติมอีกครั้ง (Post-test) ตรวจผลการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเก็บคะแนนแต่ละคนไว้
3.5.4 นำคะแนน ก่อนการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (Pre-test) และคะแนนหลังการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (Post-test) มาวิเคราะห์ทางสถิติ
3.6 การศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใช้กลุ่มการทดลองกลุ่มเดียววัดผลหลังการทดลอง (The single groups post-test only design one short case study) (ประวิต เอราวรรณ์, 2545, หน้า 54)
การดำเนินการทดลอง
3.6.1 ให้กลุ่มตัวอย่างอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้จบทุกหน่วยภายในเวลา 30 วัน
3.6.2 ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบวัดเจตคติต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3.6.3 นำแบบวัดเจตคติที่นักเรียนทำมาตรวจให้คะแนน
3.6.4 นำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ

การวิเคราะห์ข้อมูล
1. การหาประสิทธิภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 คำนวณจากสูตรของชูชีพ อ่อนโคกสูง (2524, หน้า 42)
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการอ่านหนังสือเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-Dependent) จากสูตร (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, 2538, หน้า 104)
3. เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ
3.1 การหาค่าเฉลี่ย (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, 2538, หน้า 73)
3.2 การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, 2538, หน้า 79)

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
1. ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน มีประสิทธิภาพ 87/96.66 หน่วยที่ 2 ขั้นตอนการปลูกปาล์มน้ำมัน มีประสิทธิภาพ 88/93.33 หน่วยที่ 3 การดูแลรักษาปาล์มน้ำมัน มีประสิทธิภาพ 89/96.66 หน่วยที่ 4 การเก็บเกี่ยวและการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวมีประสิทธิภาพ 91.33/100 หน่วยที่ 5 การบันทึกข้อมูลการตลาด ต้นทุนและระบบบัญชีในการปลูกปาล์มน้ำมัน มีประสิทธิภาพ 89.66/96.66 ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. ผลการเปรียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการอ่านหนังสืออ่าน เพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าก่อนการอ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. ผลการประเมินเจตคติของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีเจตคติที่ดียิ่ง มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.61 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) เท่ากับ 0.52

อภิปรายผล
ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ผู้ศึกษาค้นคว้าขอเสนอการอภิปรายผลเป็นลำดับ ดังนี้
หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเฉลี่ย 88.99/96.66 ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 กลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม สูงกว่าก่อนการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 และนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่อ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีเจตคติที่ดียิ่งต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ทุกประการ แสดงว่าหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้นสามารถเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ผู้อ่านได้ เนื่องจากเป็นหนังสือที่เขียนขึ้นตามหลักการสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม ซึ่งได้ขยายเนื้อหาในบทเรียนที่เกี่ยวกับการปลูกปาล์มน้ำมัน โดยมีเนื้อหา 5 หน่วย คือหน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน เป็นการปูพื้นฐานให้นักเรียนหรือผู้อ่านได้ทราบถึงความสำคัญ ประโยชน์ของการปลูกปาล์มน้ำมัน ประวัติและความเป็นมาของปาล์มน้ำมัน ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของปาล์มน้ำมัน ชนิดและพันธุ์ปาล์มน้ำมัน หน่วยที่ 2 ขั้นตอนการปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อให้นักเรียนได้ทราบถึงขั้นตอนของการ เพาะเมล็ด การปฏิบัติดูแลรักษาต้นกล้าปาล์ม การเลือกพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน การเตรียมพื้นที่และวางผังปลูกปาล์มน้ำมัน ตลอดจนวิธีการปลูกปาล์มน้ำมันมีการนำเสนอเนื้อหาและรูปภาพประกอบเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น หน่วยที่ 3 การดูแลรักษาปาล์มน้ำมันเพื่อให้นักเรียนเข้าใจขั้นตอน และวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในการดูแลรักษา เพื่อให้ปาล์มน้ำมันเจริญเติบโตเร็วแข็งแรงและสมบูรณ์ หน่วยที่ 4 การเก็บเกี่ยวและการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และรักษาคุณภาพอยู่ได้นาน หน่วยที่ 5 การบันทึกข้อมูลการตลาด ต้นทุนและระบบบัญชีในการปลูกปาล์มน้ำมัน เพื่อให้สามารถบันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการทำสวนปาล์มน้ำมันและบริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมันให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการนำเสนอเนื้อหาทั้ง 5 หน่วยโดยวิธีการใช้ภาพประกอบ มีคำอธิบายที่ถูกต้อง มีเนื้อหาแต่ละหน่วย และมีคำถาม ท้ายหน่วย
ผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้สอดคล้องกับงานวิจัยของขวัญจิต สังข์ทอง (2541) ซึ่งได้สร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องสมุนไพรในครัวเรือนสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การศึกษาส่วนหนึ่งพบว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติมมีประสิทธิภาพ 92.02/96.07 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ และพบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองหลังการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติมสูงกว่าก่อนการอ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ ดำรงค์ นาคพันธ์ (2535) ได้ทำการวิจัย เรื่องการสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องพันธุกรรม ของมนุษย์สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทำการทดลองกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างโรงเรียน ฉลองรัฐราษฎร์อุทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 40 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2539 ผลการศึกษาพบว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติมมีประสิทธิภาพ83.80/83.55 ซึ่งผ่านเกณฑ์ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องพันธุกรรมของมนุษย์ สูงกว่าก่อนการอ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และนักเรียนที่อ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง พันธุกรรมของมนุษย์ มีเจตคติที่ดีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องพันธุกรรมของมนุษย์
แสดงให้เห็นว่าหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้นมีคุณภาพที่จะนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอน รหัสวิชา ง30215 การปลูกปาล์มน้ำมัน หรือใช้อ่านเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่สนใจโดยทั่วไปได้ ด้วยเหตุผล ดังต่อไปนี้
1. เนื่องจากหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นหนังสือที่ได้รับการพัฒนาตามขั้นตอน ดังนี้
1.1 ผ่านการตรวจแก้ไขจากผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ คือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสื่อ การสอน ด้านวัดผลประเมินผล ด้านภาษา ด้านเนื้อหา
1.2 มีการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่ทดลองใช้กับนักเรียน 1 คน และ 10 คน ก่อนทดลองภาคสนาม จึงได้รับการปรับปรุงแก้ไข หลายครั้งก่อนเป็นฉบับสมบูรณ์
2. เมื่อศึกษาเจตคติต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีเจตคติที่ดียิ่งต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม อาจเป็นเพราะว่า ในการสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมครั้งนี้ ผู้ศึกษาค้นคว้าได้นำเอาหลักจิตวิทยาในการเขียนหนังสือสำหรับเด็กมาใช้ในการเขียนหนังสือเช่นด้านเนื้อหา เลือกเนื้อหาที่เป็นที่น่าสนใจของนักเรียน เหมาะกับผู้อ่านมีภาพประกอบเนื้อหา เพื่อสื่อความหมายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ไม่ว่าด้านประสิทธิภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติม ด้าน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติมและด้านเจตคติต่อหนังสืออ่าน เพิ่มเติมของนักเรียนบ่งชี้ให้เห็นว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคุณภาพที่สามารถใช้อ่านเพิ่มเติมประกอบการเรียนการสอน รหัสวิชา ง30215 การปลูกปาล์มน้ำมัน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และผู้สนใจทั่วไปได้

ข้อเสนอแนะ
ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องการสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมัน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในครั้งนี้ ผู้ศึกษาค้นคว้ามีข้อเสนอแนะ ดังนี้

1. ข้อเสนอแนะทั่วไป
1.1 ผู้สร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมต้องศึกษาให้มีความรอบรู้หลาย ๆ สาขาวิชา เช่น จิตวิทยา วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ภาษา เป็นต้น ทั้งนี้เพราะสาขาวิชาเหล่านี้มีความจำเป็นต้องนำ มาใช้ในการสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อให้หนังสือมีคุณภาพ
1.2 หนังสืออ่านเพิ่มเติมใช้ได้ดีกับนักเรียนที่มีนิสัยรักการอ่าน ครูควรส่งเสริมให้ นักเรียนมีนิสัยรักการอ่านหนังสือให้มากขึ้น

2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการส่งเสริมให้ครูสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องอื่น ๆ ด้วย ทั้งนี้เพราะหนังสือเป็นสื่อที่มีต้นทุนต่ำ และเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน
2.2 ควรมีการศึกษาค้นคว้าเปรียบเทียบความคงทนในการจำของนักเรียนระหว่างการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติมกับสื่อชนิดอื่น ๆ
2.3 ควรมีการศึกษาค้นคว้า และสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับพืชเศรษฐกิจที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนได้เห็นความสำคัญและรักท้องถิ่น มีความภูมิใจในท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่

2 ความคิดเห็น:

  1. มีวิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวิชาวิทยาศาสตร์ไหมค่ะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ17 มกราคม 2558 เวลา 22:27

    ขอบคุณ

    ตอบลบ