หน้าเว็บ

บทที่ 3 วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

บทที่ 3
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้ศึกษาค้นคว้าได้กำหนดขั้นตอนการศึกษาค้นคว้า ดังนี้
1. ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
3. การสร้างเครื่องมือ
4. แบบแผนในการทดลองและการดำเนินการทดลอง
5. การวิเคราะห์ข้อมูล

ประชากรกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนสิชลประชาสรรค์ ตำบลทุ่งใส อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 253 คน

2. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนสิชลประชาสรรค์ ตำบลทุ่งใส อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นรายบุคคลด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling)

3. ขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
การเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยการจับฉลากรายชื่อนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนสิชลประชาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 จังหวัดนครศรีธรรมราช มีฉลากรายชื่อ 253 ใบ นำฉลากรายชื่อนักเรียนทุกคนมารวมกันแล้วสุ่มจับทีละใบ จนได้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างครบ จำนวน 30 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลครั้งนี้ประกอบด้วย
1. หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 เล่ม ผู้ศึกษาค้นคว้าสร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับเป็นหนังสืออ่านเพิ่มเติมในรายวิชา ง30215การปลูกปาล์มน้ำมัน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 ข้อ
3. แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
4. แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ
1. หนังสืออ่านเพิ่มเติม การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติมที่สร้างขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนด และเพื่อปรับปรุงคุณภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น ผู้ศึกษาค้นคว้าจึงได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1.1 วิเคราะห์เนื้อหา และสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม โดยศึกษาเอกสาร ดังต่อไปนี้
1.1.1 ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และ จุดประสงค์การเรียนรู้ จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และหลักสูตร สถานศึกษา (ปรับปรุง) พุทธศักราช 2550 โรงเรียนสิชลประชาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
1.1.2 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับความหมายหนังสืออ่านเพิ่มเติม ความสำคัญและประโยชน์หนังสืออ่านเพิ่มเติม ลักษณะสำคัญของหนังสืออ่านเพิ่มเติม รูปแบบการเขียนหนังสืออ่านเพิ่มเติม การจัดทำหนังสืออ่านเพิ่มเติม เอกสารเกี่ยวกับการหาประสิทธิภาพของหนังสือ อ่านเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำหนังสืออ่านเพิ่มเติมให้เหมาะสมกับผู้อ่าน
1.1.3 วิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับการปลูกปาล์มน้ำมันในรายวิชารหัส ง30215 เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมัน
1.1.4 ศึกษาเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับปาล์มน้ำมันและการศึกษาค้นคว้าซึ่งเป็นกระบวนการเกี่ยวกับการสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันจากแหล่งวิชาการต่าง ๆ
1.1.5 เขียนโครงเรื่องในรูปหัวข้อ พร้อมทั้งกำหนดแนวคิด และจุดประสงค์ การเรียนรู้
1.1.6 เสนอเนื้อหาแบบบรรยาย ภาพประกอบ ตามโครงเรื่องที่กำหนดตาม ขั้นตอน ดังนี้
1) เขียนบทสคริปต์ (script) เป็นการเขียนขั้นตอนของเนื้อเรื่อง รูปภาพ ตั้งแต่หน้าแรกถึงหน้าสุดท้าย
2) ทำดัมมี่ (dummy) คือการทำหนังสือจำลองหนังสือที่จะทำ โดยนำ รายละเอียดของบทสคริปต์ ระบุภาพประกอบตั้งแต่ปกจนถึงหน้าสุดท้าย
1.1.7 ตรวจสอบความถูกต้องด้านเนื้อหา การใช้ภาษาและความเหมาะสมของภาพประกอบ
1.1.8 จัดทำรูปเล่มหนังสือต้นฉบับ และนำไปปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง ตามลำดับ ดังนี้
1) นำหนังสือต้นฉบับให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจแก้ไข ข้อบกพร่องของหนังสือจำนวน 5 ท่าน คือผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหา ทางด้านการสอน ด้านภาษา ด้านสื่อการสอน ด้านวัดผลประเมินผล โดยใช้แบบสอบถามสำหรับผู้เชี่ยวชาญ
2) นำหนังสืออ่านเพิ่มเติม ไปทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยชี้แจงวัตถุประสงค์ และวิธีอ่านให้นักเรียนทราบ จากนั้นให้นักเรียนนำหนังสืออ่านเพิ่มเติมไปอ่านทุกวันจนจบเล่ม และให้ นักเรียนตอบแบบสอบถามความคิดเห็นจากการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม นำข้อบกพร่องมา ปรับปรุงแก้ไข
3) นำหนังสืออ่านเพิ่มเติมต้นฉบับ ไปทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน หลังจากอ่านแล้ว ให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความคิดเห็นจากการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม วิจารณ์ข้อบกพร่องพร้อมเขียนข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหนังสือ
4) นำข้อมูลทั้งหมดมาปรับปรุงหนังสืออ่านเพิ่มเติมเป็นฉบับสมบูรณ์ เพื่อใช้ในการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง
2. การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ซึ่งดำเนินการสร้าง ดังนี้
2.1 ศึกษาวิธีการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากเอกสาร และตำราด้านการวัดผลประเมินผลการศึกษา
2.2 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 45 ข้อ ให้ครอบคลุมเนื้อหา และจุดประสงค์ของหนังสืออ่านเพิ่มเติม โดยกำหนด
พฤติกรรมที่ต้องการวัดไว้ 4 ด้าน คือ
2.2.1 ด้านความรู้ความจำ
2.2.2 ด้านความเข้าใจ
2.2.3 ด้านการนำไปใช้
2.2.4 ด้านวิเคราะห์
2.2.5 ด้านการสังเคราะห์
2.3 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความ เที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยใช้ดัชนีความสอดคล้อง (Index of consistency : IOC) ระหว่างแบบ ทดสอบกับจุดประสงค์ โดยการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน โดยใช้สูตรของล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2539, หน้า 249)

IOC =

เมื่อ IOC แทน ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์
แทน ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิหรือ
ผู้เชี่ยวชาญ
N แทน จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้เชี่ยวชาญ
การให้คะแนนผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละคนให้คะแนนตามเกณฑ์ ดังนี้
ให้คะแนน +1 เมื่อผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิแน่ใจว่า ข้อสอบนั้น
สอดคล้องกับจุดประสงค์
ให้คะแนน 0 เมื่อผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิไม่แน่ใจว่าข้อสอบนั้น
สอดคล้องกับจุดประสงค์
ให้คะแนน -1 เมื่อผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิแน่ใจว่า ข้อสอบนั้น
ไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์
2.4 เลือกแบบทดสอบที่มีดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์ 0.5 ขึ้นไปไว้
2.5 นำแบบทดสอบที่มีดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป ไปทดสอบหาค่า ความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนกกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสิชลประชาสรรค์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 60 คน โดยให้อ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้จบ ก่อนทำข้อสอบ
2.6 นำแบบทดสอบที่ทดลองใช้มาตรวจให้คะแนน โดยข้อสอบที่ตอบถูกให้ 1 คะแนน และข้อสอบที่ตอบผิดหรือไม่ตอบหรือตอบเกินกว่า 1 ตัวเลือก ให้ 0 คะแนน
2.7 นำผลการทดลองมาวิเคราะห์เพื่อหาค่าความยากง่ายของข้อสอบโดยใช้สูตร ของล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ (2538, หน้า 209-211) ดังนี้
2.7.1 วิเคราะห์ความยากง่าย
P =
เมื่อ P แทน ค่าความยากง่ายของข้อสอบแต่ละข้อ
R แทน จำนวนผู้ตอบถูกในแต่ละข้อ
N แทน จำนวนคนที่ทำข้อสอบข้อนั้นทั้งหมด
2.7.2 วิเคราะห์หาค่าอำนาจจำแนก
r =
เมื่อ r แทน อำนาจจำแนกของข้อสอบรายข้อ
Ru แทน จำนวนผู้ที่ตอบถูกในข้อนั้นในกลุ่มสูง
Re แทน จำนวนผู้ที่ตอบถูกในข้อนั้นในกลุ่มต่ำ
N แทน จำนวนนักเรียนทั้งหมด
เลือกข้อสอบที่มีค่า IOC 0.5 ขึ้นไป และมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20- 0.80 ไว้จำนวน 30 ข้อ ให้ครอบคลุมจุดประสงค์ของหนังสืออ่านเพิ่มเติม
นำแบบทดสอบที่เลือกไว้ 30 ข้อ ใช้ทดสอบกับนักเรียนที่ได้อ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 60 คน นำคะแนนที่ได้ไปหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ โดยใช้
สูตร KR-20 ของคูเดอร์- ริชาร์ดสัน (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, 2538, หน้า 197-198)


เมื่อ rtt แทน ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ
n แทน จำนวนข้อสอบของแบบทดสอบ
p แทน สัดส่วนของคนทำถูกในข้อหนึ่ง ๆ

p =

q แทน สัดส่วนของคนทำผิดในข้อหนึ่ง ๆ
q = 1 – p
แทน คะแนนความแปรปรวนของแบบทดสอบทั้งฉบับ



เมื่อ แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
แทน ผลรวมของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง
แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดยกกำลังสอง
N แทน จำนวนคนที่เข้าสอบทั้งหมด
ข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้งฉบับมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85
3. การสร้างแบบวัดเจตคติต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม
ผู้ศึกษาค้นคว้านำแบบวัดเจตคติต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ของนุชนารถ ยิ้มจันทร์ (2546, หน้า 70-80) มาปรับปรุงและวิเคราะห์ความเชื่อมั่นแล้วให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างตอบหลังจากอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นปีที่ 3 และนำคะแนนที่ได้มาหาค่าความเชื่อมั่น
โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา ( -coefficient) ของครอนบัค (Cronbach) (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, 2538, หน้า 200-201)

คำนวณจากสูตร
=
เมื่อ แทน ค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่น
n แทน จำนวนข้อของเครื่องมือวัด
แทน คะแนนความแปรปรวนเป็นรายข้อ
แทน คะแนนความแปรปรวนของเครื่องมือทั้งฉบับ
คำนวณคะแนนความแปรปรวนจากสูตร
=

เมื่อ N แทน จำนวนคนที่ทำแบบทดสอบวัดเจตคติ
แทน ผลรวมของคะแนนแต่ละตัวยกกำลังสอง
แทน ผลรวมของคะแนน
S2 แทน คะแนนความแปรปรวน
แบบทดสอบวัดเจตคติมีความเชื่อมั่น = 0.71
การให้คะแนนผลการสอบวัดเจตคติถือเกณฑ์ตรวจ ดังนี้
กรณีที่ข้อสอบมีความหมายทางนิมาน (Positive) ให้คะแนน ดังนี้
เห็นด้วยอย่างยิ่ง ให้ 5 คะแนน
เห็นด้วย ให้ 4 คะแนน
ไม่แน่ใจ ให้ 3 คะแนน
ไม่เห็นด้วย ให้ 2 คะแนน
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ให้ 1 คะแนน
กรณีที่ข้อความมีความหมายทางนิเสธ (Negative) ให้คะแนน ดังนี้
เห็นด้วยอย่างยิ่ง ให้ 1 คะแนน
เห็นด้วย ให้ 2 คะแนน
ไม่แน่ใจ ให้ 3 คะแนน
ไม่เห็นด้วย ให้ 4 คะแนน
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ให้ 5 คะแนน
ในการประเมินผลเจตคติต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติมของกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์จากคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนซึ่งได้กำหนดเกณฑ์การพิจารณาไว้ ดังนี้
ช่วงคะแนนเฉลี่ย ระดับเจตคติ
4.56 – 5.00
3.56 – 4.55
2.56 – 3.55
ต่ำกว่า 2.56 มีเจตคติที่ดียิ่ง
มีเจตคติที่ดี
มีเจตคติในระดับปานกลาง
มีเจตคติที่ไม่ดี

4. แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ใช้แบบรายงานการตรวจหนังสือเสริมประสบการณ์ของกรมวิชาการกระทรวง ศึกษาธิการ

แบบแผนในการทดลองและการดำเนินการทดลอง
1. การหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ใช้กลุ่มการทดลองกลุ่มเดียว วัดผลหลัง การทดลอง (The single groups post-test only design one short case study) (ประวิต เอราวรรณ์, 2545, หน้า 54)
1.1 แบบแผนในการทดลอง


X หมายถึง การทดลองใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
O2 หมายถึง การทำแบบฝึกหัดท้ายหน่วยของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
1.2 การดำเนินการทดลอง
หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นครั้งนี้ประกอบด้วยเนื้อหา 5 หน่วย คือ
หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน
หน่วยที่ 2 ขั้นตอนการปลูกปาล์มน้ำมัน
หน่วยที่ 3 การดูแลรักษาปาล์มน้ำมัน
หน่วยที่ 4 การเก็บเกี่ยวและการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวปาล์มน้ำมัน
หน่วยที่ 5 การบันทึกข้อมูล การตลาด ต้นทุนและระบบบัญชีในการปลูกปาล์มน้ำมัน
ในการหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ดำเนินตามขั้นตอน ดังนี้
1.2.1 ให้กลุ่มตัวอย่างอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติมให้จบทีละหน่วยแล้วทำแบบ ฝึกหัดท้ายหน่วยแต่ละหน่วยจนครบทั้ง 5 หน่วย ในเวลา 30 วัน
1.2.2 ตรวจให้คะแนนแบบฝึกหัดท้ายหน่วย แต่ละหน่วยจนครบ 5 หน่วย
1.2.3 นำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใช้การทดลองแบบกลุ่มเดียวมีการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนทดลอง 1 ครั้ง และหลังการทดลอง 1 ครั้ง (The Single Group Pre-test Post-test Design) (ประวิต เอราวรรณ์ , 2545, หน้า 55)
2.1 แบบแผนในการทดลอง



O1 หมายถึง การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการทดลองใช้หนังสืออ่าน
เพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยม
ศึกษาปีที่ 3
X หมายถึง การทดลองใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมัน
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
O2 หมายถึง การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลองใช้หนังสืออ่าน
เพิ่มเติมเรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยม
ศึกษาปีที่ 3
O1 และ O2 วัดด้วยแบบทดสอบชุดเดียวกัน
2.2 การดำเนินการทดลอง
2.2.1 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบ ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Pre-test) ตรวจผลการสอบและเก็บคะแนนของแต่ละคนไว้
2.2.2 กลุ่มตัวอย่างอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยชี้แจงจุดประสงค์พร้อมวิธีการอ่านให้ทราบและให้กลุ่มตัวอย่างนำหนังสือไปอ่านเป็นเวลา 30 วันเมื่อกลุ่มตัวอย่างอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ครบตามเวลาที่กำหนด จึงวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม (Post-test) โดยทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อีกครั้ง
2.2.3 ตรวจผลการสอบและเก็บคะแนนของนักเรียนแต่ละคนไว้
2.2.4 นำคะแนน Pre-test และคะแนน Post-test มาวิเคราะห์ทางสถิติ
3. การศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลหลังการทดลอง (The single group Post-test-only-design หรือ One short case study) (ประวิต เอราวรรณ์, 2545, หน้า 54)
3.1 แบบแผนในการทดลอง



X หมายถึง การทดลองใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมัน
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
O2 หมายถึง การวัดเจตคติหลังการอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูก
ปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3.2 การดำเนินการทดลอง
3.2.1 ให้กลุ่มตัวอย่างอ่านหนังสืออ่านเพิ่มเติมให้จบทุกหน่วย ภายในเวลา 30 วัน
3.2.2 ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบสอบวัดเจตคติต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3.2.3 นำแบบทดสอบวัดเจตคติต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มาตรวจให้คะแนน
3.2.4 นำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ




การวิเคราะห์ข้อมูล
1. การหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 คำนวณจากสูตรของชูชีพ อ่อนโคกสูง(2524, หน้า 42)






เมื่อ E1 แทน ร้อยละของคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบฝึกหัดท้ายหน่วย
แต่ละหน่วยของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์ม
น้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของนักเรียน
กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
E2 แทน ร้อยละของจำนวนนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการทำแบบ
ฝึกหัดท้ายหน่วยแต่ละหน่วยของหนังสืออ่านเพิ่มเติม
เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 ถูกต้องอย่างน้อยร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม
แทน คะแนนรวมของกลุ่มตัวอย่างทุกคนที่ได้จากการทำแบบ
ฝึกหัดท้ายหน่วยของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูก
ปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
N แทน จำนวนนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด
A แทน คะแนนเต็มของแบบฝึกหัดท้ายหน่วยของหนังสืออ่าน
เพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แต่ละหน่วย
แทน จำนวนนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ได้ทำแบบฝึกหัดท้ายหน่วย
แต่ละหน่วยของหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์ม
น้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ถูกต้อง
อย่างน้อยร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการอ่านหนังสืออ่าน เพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ (t-Dependent) จากสูตรของ ล้วน สายยศและ อังคณา สายยศ (2538, หน้า 104)


เมื่อ D แทน ความแตกต่างของคะแนนแต่ละคู่
N แทน จำนวนคู่
3. การศึกษาเจตคติของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องการปลูกปาล์มน้ำมันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย และการหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
3.1 การหาค่าเฉลี่ย (ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ, 2538, หน้า 73)
คำนวณจากสูตร

เมื่อ แทน คะแนนเฉลี่ย
แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
N แทน จำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง
3.2 การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ, 2538, หน้า 79)


เมื่อ แทน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
แทน ผลรวมของคะแนนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง
แทน ผลรวมของคะแนนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างแต่ละคน
ยกกำลังสอง
N แทน จำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง

2 ความคิดเห็น:

  1. ยาวไปมั้ย

    ตอบลบ
  2. มีวิธีการดำเนินงานของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ไหมค่ะหนูอยากได้ไปทำโครงงานวิทยาศาสตร์ส่งคุณครูมากเลยค่ะรบกวนช่วยนำเสนอตัวอย่างวิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้าให้ด้วยนะค่ะ

    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ